Arcserve N Series ระบบสำรองข้อมูล Backup ข้อมูล สำหรับ Nutanix Hyperconverged ผลิตภัณฑ์ Arcserve N Series เป็นผู้นำทั้งในด้านการ สำรองข้อมูล Backup และปกป้องข้อมูล Nutanix Hyperconverged Infrastructure (HCI) และความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่มัดรวมมาพร้อมกัน เพื่อทำให้ธุรกิจสามารถปกป้องทรัพย์สินทางดิจิตอลที่มีมูลค่ามหาศาลได้อย่างครบวงจร Arcserve N Series ให้ความพร้อมระดับสูงและปกป้อง สำรองข้อมูล สำหรับ Nutanix Hyper Converged สามารถขยายได้แบบ Scale-out ไม่จำกัดพร้อมใช้งานสำหรับองค์กร และเป็นตัวป้องกันทั้งด่านหน้าและปราการสุดท้ายที่ต่อกรกับ Ransomware ได้เป็นอย่างดี Arcserve® N Series เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยปกป้องข้อมูลแบบ Hyper Converged ของ Arcserve นี้ใช้ระบบ Arcserve Unified Data Protection (UDP) ที่ได้รางวัลการันตีมาแล้วจากทั่วโลก เป็นการจับมือกันระหว่าง Nutanix และรักษาความปลอดภัยด้วยระบบ Sophos Intercept X ในระบบเดียว ฟีเจอร์สำคัญสำหรับสำรองข้อมูล Backup ข้อมูล เป็นแพลตฟอร์มกู้คืนข้อมูลระบบที่เสถียรสูง ด้วยโครงสร้างแบบ Cluster ที่ให้ความพร้อมในการให้บริการระดับสูง ทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลไฟล์สำรองข้อมูลที่สำคัญได้ตลอดเวลา โดยไม่ต้องเสี่ยงให้ธุรกิจหยุดชะงักอันเกิดจาก Down time ของระบบสำรองข้อมูล Backup สำรองข้อมูลได้ถี่กว่าเดิมด้วยการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าที่สุดจากสถาปัตยกรรมแบบ Hyper Converged ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย ไม่เหมือนกับระบบแบบเก่าที่ต้องอาศัยแรงงานคนในการช่วยจัดการ ดูแลควบคุมได้ง่ายทั้ง SLA, RPO, และ RTO ตามนโยบายที่บริษัทกำหนดหรือตามความต้องการทางธุรกิจด้วยแพลตฟอร์มที่พร้อมให้บริการ เป็น Hyperscaler ออกแบบให้ครอบคลุมการสำรองข้อมูล (Backup) และกู้คืนข้อมูล (Restore)หลายรูปแบบ สามารถสำรองข้อมูล Backup ข้อมูลและกู้คืนข้อมูลได้ทั้งจาก SQL Server, Exchange, File Server, NAS, SAN, ฐานข้อมูลของ Oracle, Unix, FreeBSD, AIX, HP-UX, Solaris, SAP HANA และอื่นๆ อีกมากมาย จัดเก็บสำรองข้อมูลเหล่านี้บนแพลตฟอร์มที่มีความเสถียรสูง พร้อมใช้งานได้อย่างมั่นใจ พัฒนาขึ้นเพื่อรวมศูนย์กลางการสำรองระบบสำหรับองค์กรที่มีทั้งระบบ Datacenter ,Physical Server , Virtual machine หรือแม้แต่บน Cloud ระบบของ Nutanix เข้ามาช่วยยกระดับความเสถียรขึ้นไปอีกขั้นด้วยฟีเจอร์ “Resiliency Factor” ที่มาพร้อมกันด้วย ให้ทั้งความพร้อมในการเข้าถึงข้อมูลในเวลาที่โหนดหรือดิสก์ล้มเหลว หรือตอนที่ระบบเจอกับปัญหาดิสก์พัง ขยายได้แบบ Scale-out จ่ายเท่าขนาดที่ต้องการใช้ในเวลานั้นๆ ขยายระบบแบบ Scale-out, ขยายทีละนิด, หรือขยายระบบโตขึ้นมาได้อย่างต่อเนื่อง เปิดโอกาสให้เริ่มต้นจากระบบเล็กๆ แล้วค่อยๆ ปรับตามการลงทุน ขยายตามความต้องการที่เปลี่ยนแปลงได้ ขณะที่ระบบแบบเก่าจำเป็นต้องระบุขนาดตายตัว ลงทุนครั้งใหญ่ครั้งเดียว การใช้ระบบแบบใหม่นี้ทำให้ไม่ผูกมัดกับข้อจำกัดดังกล่าวอีกต่อไป รีดประสิทธิภาพได้สูงสุดตามขนาดระบบที่เลือกใช้อยู่ตลอดโดยไม่ได้รับผลกระทบจากการปรับเปลี่ยนระบบ ไม่เหมือนกับระบบทั่วไปที่มักพบการถดถอยของประสิทธิภาพเมื่อเข้าไปเปลี่ยนแปลง ไม่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนหรือเพิ่มทรัพยากรประมวลผลบ่อยๆ เพื่อปรับประสิทธิภาพการทำงานของระบบอีกต่อไป ด้วยสถาปัตยกรรมแบบ […]